Loading...
เว็บไซต์ อายิโนะโมะโต๊ะประเทศไทย
เว็บไซต์ อายิโนะโมะโต๊ะประเทศไทย

เทคนิคการว่าย

27/04/2022

เคล็ดลับในการว่ายน้ำให้ไหลไปกับสายน้ำได้สนุกยิ่งขึ้น

ว่ายน้ำถือเป็นกีฬาที่ยากที่สุดในการแข่งไตรกีฬา เพราะเป็นกีฬาที่ใช้แรงต้านมากที่สุดจึงควรมีเทคนิคขณะว่ายน้ำ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรู้สึกเหนื่อยจนเกินไป
- เทคนิคแรก คือ ตำแหน่งของศีรษะ ที่ส่วนมากมือใหม่มักเงยหน้ามองไปด้านหน้าหรือ 45 องศา ควรเปลี่ยนเป็นการมองพื้น เพราะจะช่วยให้ขาลอยขึ้นทำให้การเตะขาทำได้ดีขึ้น
- เทคนิคที่สอง พิจารณาตำแหน่งการวางมือลงไปในน้ำขณะว่ายน้ำ จะต้องไม่วางมือสูงจนตึงในการแตะผิวน้ำ เพราะจะทำให้ไหล่อีกข้างเอียงจนเสียสมดุลในการว่ายน้ำ  ควรหาระดับการวางมือลงไปในน้ำขณะจ่วงแขนว่ายน้ำให้พอดีไม่ถึงขั้นตึง เพื่อให้ไหล่ของเราอีกข้างไม่เอียง และทำให้ตัวลอยขนานไปกับน้ำได้ดีขึ้น  ทำให้การว่ายน้ำสนุกยิ่งขึ้น


แชร์เทคนิคเตะขาขณะว่ายน้ำเพื่อการประหยัดแรง

การเตะขาขณะว่ายน้ำมีความสำคัญมากในแง่ของการประหยัดพลังงานของร่างกาย เพื่อให้สามารถว่ายน้ำระยะไกลได้อึดยิ่งขึ้น แล้วการเตะขาแบบไหน ถึงจะเซฟพลังงานได้ดี

คำตอบ คือ การเตะขาแบบสองจังหวะสลับซ้าย ขวาไปตลอดทาง โดยการเตะขาขณะว่ายน้ำจะเตะขาสลับซ้ายขวาเป็นจังหวะ  ซึ่งสะโพกของเราจะไปตามจังหวะขาที่เตะเช่นกัน  ส่วนสะโพกฝั่งเดียวกับขาที่ไม่ได้เตะ จะจมลงในน้ำ ให้เราเหยียดขาข้างที่ไม่ได้เตะน้ำให้ตรง เพื่อพยุงให้สะโพก และลำตัวให้ลอยขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุดในการว่ายน้ำ คือ แขน ขา และลำตัวต้องสัมพันธ์กันเวลาว่ายน้ำ ลำตัวต้องเยียดตรงเสมอ เมื่อเริ่มว่ายจะต้องบิดลำตัว และแขนสลับซ้าย ขวาตามจังหวะการเตะขาในการว่ายน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดแรงต้านขณะว่ายน้ำ ซึ่งจะช่วยให้เราประหยัดแรงในการว่ายน้ำ ทำให้เราว่ายได้ระยะไกลขึ้น

 

การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแกนกลางลำตัวในการว่ายน้ำ

การว่ายน้ำต้องใช้กล้ามเนื้อหลายส่วน ดังนั้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวช่วงบน และช่วงล่างเป็นสิ่งสำคัญ

โดยมีท่าในการฝึกความแข็งแกร่งของหัวไหล่ และแขนให้สามารถหมุนได้อย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัดทำให้เวลาว่ายน้ำสามารถว่ายได้ไม่เมื้อยล้ากล้ามเนื้อแขน

ท่าการฝึกบิดตัวโดยยกแขนขึ้นเพื่อเปิดลำตัวช่วงบน เหมือนตอนที่เราบิดตัวขึ้นมาหายใจขณะว่ายน้ำ  เป็นการทำให้กล้ามเนื้อหลัง และด้านข้างแข็งแกร่งขึ้น ลดอาการเมื่อยเกรงเมื่อต้องว่ายน้ำระยะไกล

สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวให้แข็งแรง เพื่อเวลาว่ายน้ำจะสามารถพลิกลำตัวสลับซ้ายขวาให้สัมพันธ์กับเวลาตีขาได้ดี  ซึ่งลำตัวของเราจะเหยีดตรงขนานไปกับน้ำในขณะว่ายทำให้การว่ายน้ำของเราลู่ไปกับน้ำไม่เกิดแรงต้าน จึงทำให้เราว่ายได้ดีขึ้น