ผลกระทบของ “สังคมสูงวัย”
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยกำลังเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอวัยวะของมนุษย์ ผู้คนต่างมีอายุที่ยืนยาวขึ้นและมีสุขภาพดีขึ้นมากกว่าที่เคยเป็นมา ความก้าวหน้าทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพได้เปลี่ยนโรคต่าง ๆ ที่เมื่อก่อนเคยถูกมองว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต ให้กลายเป็น “ภาวะเรื้อรัง” ที่เราสามารถมีชีวิตอยู่กับโรคได้เป็นเวลาหลายทศวรรษ ผลลัพธ์หนึ่งของความก้าวหน้านี้คือ ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมถึงภาวะด้านสุขภาพที่ปกติจะรุมเร้าเราในอดีตมีภาวะที่ดีขึ้น เช่น โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ รวมถึงโรคภาวะสมองเสื่อม กลับมีภาวะที่ดีขึ้น
ความเสี่ยงของโรคภาวะสมองเสื่อมนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่า ร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยโรคนี้จะเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าอัตราการเกิดของภาวะสมองเสื่อมนั้นจะสูงขึ้นเช่นกัน โดยจะเพิ่มขึ้นจาก 47 ล้านรายในปี พ.ศ. 2558 เป็น 131 ล้านรายในปี พ.ศ. 25931
ภาวะสมองเสื่อมส่งผลกระทบต่อทั้งชุมชน ไม่เฉพาะผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเท่านั้น คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อมอยู่ที่ประมาณ 818,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2558 และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2.5 เท่าในปี พ.ศ. 25731 ดังนั้น จึงต้องมีการค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่นำไปสู่การลดภาระที่มีต่อบุคคลและต่อสังคมลง
คาดการณ์การเติบโตของภาวะสมองเสื่อมทั่วโลก
ผงชูรส (MSG) อาจช่วยผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้
นอกจากความพยายามและการลงทุนอย่างมหาศาลที่ใช้ในการรักษาด้านการแพทย์และการป้องกันภาวะสมองเสื่อมแล้ว แพทย์และนักโภชนาการมีความสนใจอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสมองเสื่อมกับอาหารที่รับประทาน การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการระบาดวิทยาได้แสดงให้เห็นว่าเราควรจำกัดการรับประทานอาหารบางชนิด ในขณะที่อาหารชนิดอื่น ๆ นั้นจำเป็นในการช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมนี้ให้ช้าลง
ยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานต่าง ๆ ที่ทำให้ทราบว่าภาวะสมองเสื่อมอาจเกี่ยวข้องกับการต่อต้านอินซูลินและกลูโคสที่มากเกินไปในสมอง ซึ่งทำให้ทราบว่าการรับประทานอาหารที่ออกแบบมาพิเศษนั้น อาจช่วยผู้ป่วยเหล่านี้ได้
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการตีพิมพ์บทความหนึ่งที่น่าตื่นเต้นและอาจสร้างให้เกิดความประหลาดใจอย่างมากในวารสารโภชนาการทางคลินิกในสหภาพยุโรป (European Journal of Clinical Nutrition) นักวิจัยจาก Tottori University ในญี่ปุ่นได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในผู้ที่ต้องทุกข์ทรมานกับภาวะสมองเสื่อม2ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านประโยชน์ของผงชูรส (MSG)
การศึกษาวิจัยนี้ มีการแยกผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม 159 รายเป็น 2 กลุ่ม โดยที่กลุ่มแรกมีผู้ป่วย 80 รายได้รับอาหารที่เติมเกลือเข้าไป 0.26 กรัม (3 มื้อ/วัน) และอีกกลุ่มมีผู้ป่วย 79 รายได้รับอาหารที่เติมผงชูรส (MSG) เข้าไป 0.9 กรัม (3 มื้อ/วัน) โดยกำหนดปริมาณที่เติมเข้าไปตามปริมาณเกลือโซเดียมเทียบเท่ากับปริมาณที่รับเข้าไปในแต่ละวันสำหรับแต่ละกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตอบแบบสอบถาม และทดสอบอาการทางการรับรู้ทั้งก่อนและหลังการทดลองที่มีระยะเวลา 12 สัปดาห์ และหลังจากนั้น 4 สัปดาห์ในระหว่างการประเมินเพื่อติดตามผล
ในการติดตามผล นักวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผงชูรส (MSG) แสดงให้เห็นถึงคะแนนที่สูงกว่าสำหรับการทดสอบความสามารถด้านการรับรู้โดยรวมเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับเกลือ (p<0.05) นอกจากนี้ ยังพบว่าผลการทดสอบด้าน “การจดจำคำ” และ “การจดจำเวลา” สูงกว่าอีกด้วย
■ ผลของโมโนโซเดียม แอล-กลูตาเมต (สสารของอูมามิ) ที่มีต่อ การทำงานด้านการรับรู้ในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
มีการพิจารณาว่าการสูญเสียความอยากอาหารเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับการลุกลามของภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยสูงอายุ มีการตั้งสมมติฐานว่าความสามารถในการรับรสอูมามิอาจลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และปัจจัยนี้ส่งผลให้ไม่มี
ความสุขในการรับประทานอาหาร ในการศึกษาวิจัยนี้ การเติมผงชูรส (MSG) ที่เพิ่มการรับรสอูมามิในอาหารนั้น จะช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และช่วยเพิ่มการรับรู้ในผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมด้วย การศึกษาวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้รสอูมามิอาจช่วยยับยั้งการลุกลามของภาวะสมองเสื่อม และนักวิจัยต่างเชื่อว่าการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอาจแสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกที่มีต่อการเริ่มต้นของโรคด้วย
แม้ว่ามีผลลัพธ์ที่น่าตื่นเต้นและมีความหวังอย่างมาก แต่การวิจัยเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น นักวิจัยกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าทำไมผงชูรส (MSG) ถึงมีผลในทางบวกต่อความสามารถในการรับรู้ และมีผลอย่างไร
หลักฐานที่มีเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อย ๆ
การรักษาภาวะสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในสาขาที่มีการศึกษากันอย่างจริงจังมากที่สุดในการแพทย์สมัยใหม่ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยต่าง ๆ ได้ทำการศึกษาสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมและความสัมพันธ์ที่มีกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้า รวมถึงแนวทางด้านการแพทย์และการบำบัดรักษาจำนวนมาก เพื่อรักษา ป้องกัน หรืออย่างน้อยเพื่อทำให้ภาวะที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงนั้นลุกลามช้าลง
การค้นพบต่าง ๆ ที่นำเสนอในจดหมายข่าวนี้ทำให้มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่าผงชูรส (MSG) อูมามิ และกรดอะมิโนแสดงให้เห็นถึงผลในทางบวกต่อปัญหาสุขภาพที่หลากหลายของผู้สูงอายุ ซึ่งรวมถึงภาวะสมองเสื่อมด้วย
ดังที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วในจดหมายข่าวฉบับที่ 8 รสพื้นฐานอูมามินั้นอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมากกว่าหนึ่งในสามมีการรับรสที่บกพร่อง และในบรรดาผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ดีนั้น ตัวเลขสัดส่วนนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นถึงครึ่งต่อครึ่ง การรับรู้รสที่บกพร่องนั้นเกี่ยวเนื่องกับการลดลงของการหลั่งน้ำลาย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้ยากลำบากขึ้น ความสามารถการรับรู้รสที่ลดลงร่วมกับการกลืนอาหารที่ลำบากนั้น ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกอยากอาหารลดลง ซึ่งผลลัพธ์คือ ทำให้น้ำหนักลดและขาดสารอาหาร อย่างไรก็ตาม รสชาติอูมามิช่วยเพิ่มทั้งความน่ารับประทานของอาหารและกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหารและควบคุมการเพิ่มน้ำหนักได้
ยิ่งไปกว่านั้น ดังที่กล่าวไปแล้วในจดหมายข่าวฉบับที่ 5 ในชุดจดหมายข่าวนี้ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) ซึ่งเป็นภาวะที่เกี่ยวเนื่องกับการสูญเสียความแข็งแรงและมวลของกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่สามารถบั่นทอนสุขภาพและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้ของผู้สูงอายุ “กรดอะมิโน L40" ของเราเป็นส่วนผสมของกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิดที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์โปรตีนของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความเร็วในการเดินได้ในผู้สูงอายุเมื่อใช้ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย
Ajinomoto Co., Inc.: ใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยเหลือมนุษยชาติ
มีงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับกรดอะมิโน อูมามิ และ MSG ซึ่งช่วยสนับสนุนฐานความรู้ในวารสารงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เราจะติดตามการพัฒนาเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในความมุ่งมั่นที่ต้องการผู้คน “กินดี มีสุข” ตลอดไป
เกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto Co., Inc.
บริษัท Ajinomoto เป็นผู้ผลิตเครื่องปรุง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มคุณภาพสูง รวมถึงผลิตภัณฑ์กรดอะมิโน ยารักษาโรค และสารเคมีคุณลักษณะพิเศษ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่บริษัท Ajinomoto ได้สนับสนุนวัฒนธรรมด้านอาหารและสุขภาพมนุษย์ผ่านการใช้เทคโนโลยีกรดอะมิโนอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันบริษัทได้มีความเกี่ยวโยงเพิ่มขึ้นกับแนวทางเพื่อการพัฒนาแหล่งทรัพยากรอาหาร สุขภาพมนุษย์ และความยั่งยืนสากล บริษัทก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2452 และตอนนี้ดำเนินกิจการใน 35 ประเทศและภูมิภาค บริษัท Ajinomoto มียอดขายสุทธิในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 1,150.2 พันล้านเยน (10,036 ดอลล่าร์สหรัฐ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto (TYO : 2802) และจดหมายข่าวฉบับก่อนหน้านี้ กรุณาไปที่ www.ajinomoto.com
อ้างอิง:
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5732407/
- M. Kouzuki, M. Taniguchi, T, Suzuki และคณะ ผลของโมโนโซเดียว แอล-กลูตาเมต (สสารของอูมามิ) ที่มีต่อการทำงานด้านการรับรู้ในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม Eur J Clin Nutr 73, 266–275 (2019)
- ศักยภาพด้านประโยชน์ของ MSG
ศูนย์ข้อมูลด้านกลูตาเมตนานาชาติ https://glutamate.org/benefits/umami-taste-important-for-overall-health/BBC
https://www.bbc.com/news/health-30952637
อูมามิ: วิทยาศาสตร์และความรู้ของการกินเพื่อสุขภาพ (สถาบันการศึกษาด้านโภชนาการและอาหาร สหรัฐอเมริกา)
https://www.andeal.org/vault/2440/web/Umami_Science_and_Lore_of_Health_Eating_201708.pdf
- ช่วยควบคุมความอยากอาหาร
U. Masic & M. R. Yeomans: "รสชาติของอูมามิที่ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและช่วยเพิ่มความอิ่ม" Am. J. Clin. Nutr., 100, 532 (2014).
- ช่วยในการกลืน/ช่วยป้องกันความปิดปกติในการรับรส
T. Sasano และคณะ "บทบาทสำคัญของการรับรสอูมามิในปากและสุขภาพโดยรวม", Curr Pharm. Des. 20: 2750-2754 (2014)
https://flavourjournal.biomedcentral.com/articles/10.1186/2044-7248-4-10
- ส่งเสริมสุขอนามัยช่องปาก/เร่งการย่อยอาหาร
H. Zai, M. Kusano, H. Hosaka, Y. Shimoyama, A. Nagoshi, M. Maeda,
O. Kawamura & M. Mori: " โมโนโซเดียม แอล-กลูตาเมตที่เติมในอาหารเหลวพลังงานสูง โปรตีนสูงเพื่อส่งเสริมการว่างของกระเพาะอาหาร" Am. J. Clin. Nutr.,89, 431 (2009).
H. Uneyama et al. “บทบาททางสรีระร่างกายของอาหารที่ปราศจากกลูตาเมตในการย่อยอาหาร” Asia Pac. J Clin.
- ช่วยลดการรับเกลือเข้าร่างกาย
S. Yamaguchi และคณะ วารสารวิทยาศาสตร์การอาหาร 49(1) 82-85 (1984)
จดหมายข่าวฉบับที่ 9