กินอะไรลดเบาหวาน? หนึ่งในนั้นคือการบริโภคผงชูรสให้ถูกวิธี
“เบาหวาน” คือหนึ่งในโรคที่คนไทยคุ้นชิน เพราะเป็นโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยที่สุดและมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปัจจุบันตัวเลขผู้ป่วยเบาหวานในไทยมีมากกว่า 4 ล้านคนแล้ว
สาเหตุที่สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งกรรมพันธุ์ และความอ้วน โดยเฉพาะการอ้วนลงพุงจากพฤติกรรมการกิน จนทำให้เกิดความผิดปกติที่ตับอ่อนทำให้ไม่สามารถหลั่งอินซูลิน เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้
ดังนั้น การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเบาหวานจึงมีหัวใจหลักอยู่ที่พฤติกรรมการกินเป็นสำคัญ โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารหวานๆ มันๆ รวมถึงอาหารที่มีรสเค็ม นอกจากนี้ ยังควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย
ส่วนใครที่กำลังเป็นโรคเบาหวาน ก็สามารถควบคุมเบาหวานได้จากการปรับพฤติกรรมการกินเช่นกัน โดยมีกลุ่มของอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่รับประทานได้โดยจำกัดปริมาณ และอาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดปริมาณ ดังนี้
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ขนมหวานทุกชนิดที่ทำจากแป้ง น้ำตาล ไข่ เนย กะทิ
- ของทอดทุกชนิด
- น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ผลไม้รสหวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน น้อยหน่า อ้อย ขนุน ฯลฯ
- ผลไม้กระป๋อง ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง
- อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารรสเค็มจัด
อาหารที่รับประทานได้ โดยจำกัดปริมาณ
- เลือกดื่มนมจืด นมพร่องมันเนย นมถั่วเหลือง ในปริมาณที่เหมาะสม
- เลือกกินข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีท ในปริมาณที่เหมาะสม
- เลือกกินเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไข่ขาว ในปริมาณที่เหมาะสม
- ปรุงอาหารด้วยน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
- หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล เกลือ และเครื่องปรุงมากเกินความจำเป็น สามารถเลือกเติมผงชูรสปริมาณเล็กน้อยขณะปรุงอาหารเพื่อให้ได้รสชาติกลมกล่อม จนไม่ต้องเติมเครื่องปรุงชนิดอื่นเพิ่ม
อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดปริมาณ
ผักใบเขียวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาด แตงกวา กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ มะระ มะเขือเทศ มะเขือยาว และพืชตระกูลถั่ว เพราะให้สารประเภทแป้งน้ำตาลน้อย มีเส้นใยสูง ช่วยในการขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน
นอกจากการปรับพฤติกรรมการกินแล้ว ควรปรับใจไม่ให้เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป และหมั่นไปตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะเป็นประจำทุกปี
อ้างอิง:
โรงพยาบาลธนบุรี. แนวทางการบริโภคเพื่อสุขภาพสำหรับโรคเบาหวาน. https://bit.ly/3yjDTuG
สถานีสุขภาพBDMS. ประเทศไทยพบผู้ป่วย “โรคเบาหวาน” ไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน. https://bit.ly/3AywIRZ
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

10 เมนูเส้นทำกินเองได้ พร้อมเคล็ดลับง่ายๆ ที่เปลี่ยนทุกเมนูให้เป็นจานอร่อยประจำบ้าน
รวมไอเดียรังสรรค์เมนูประเภทเส้น พร้อมเคล็ดลับง่ายๆ โดย อายิโนะโมะโต๊ะ

แนะนำวิธีเลือกเครื่องปรุงอาหารคลีนที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ
กินอาหารคลีนให้อร่อย ต้องเลือกเครื่องปรุงให้เป็น

รู้หรือไม่ กรดอะมิโนสามารถนำมาใช้ในการเสริมรสชาติ ‘อาหารจากพืช’ (plant-based) ให้อร่อย น่ากินขึ้น
เมื่อกรดอะมิโนกลายเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่ทำให้อาหารจากพืชอร่อยครบรสยิ่งขึ้น

เคล็ดลับกินดีตามสูตร 6:6:1 ลดน้ำตาล น้ำมัน เกลือ แต่ยังอร่อยกลมกล่อม
ทำความรู้จักสัดส่วน 6 : 6 :1 ที่บ่งบอกถึงปริมาณที่ควรได้รับของกลุ่มเครื่องปรุงรส ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ