Loading...
เว็บไซต์ อายิโนะโมะโต๊ะประเทศไทย
เว็บไซต์ อายิโนะโมะโต๊ะประเทศไทย

เทคนิคการปั่น

27/04/2022



 

Bike Fitting อย่างไร ให้ปั่นจักรยานได้นานขึ้น และเหนื่อยน้อยลง

ตำแหน่งของตัวผู้ขี่บนจักรยาน (Bike Fitting) เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่นักปั่นจักรยานระยะไกลต้องเอาใจใส่ โดยเฉพาะในการแข่งขันไตรกีฬา ที่ผู้แข่งต้องใช้ระยะเวลาบนจักรยานนานกว่าการวิ่งและว่ายน้ำ ทำให้ต้องเจอกับแรงต้านรอบด้าน ทั้งลมด้านหน้า ลมด้านข้าง และลมส่งด้านหลัง

นักปั่นจึงจำเป็นต้องหาความพอดีระหว่างการก้มตัวลงไป (Aero Position) กับการยกตัวขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวก ซึ่งขึ้นอยู่กับสรีระของแต่ละคน

ในคลิปนี้เป็นการแชร์เทคนิคการจับแฮนด์จักรยาน (Aero Bar) อย่างไรไม่ให้ปวดคอ และการพับเอวอย่างไรให้เกิดการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องพยุงลำตัวไว้ เพื่อให้หลังตรงและไม่โก่งงอ ร่างกายนักปั่นจะได้อยู่ในตำแหน่งที่ลู่ลม (Aero Position) ได้นาน เพื่อเซฟแรงเอาไว้ให้มากและนานที่สุด

การบริหารจัดระบบพลังงานบนจักรยานอย่างไรให้ถูกต้องในการแข่งไตรกีฬา

หลายคนมักเกิดอาการวิ่งได้ไม่ดีพอหรือไม่เร็วเท่าที่ต้องการ หรือไม่อย่างนั้นก็เป็นตะคริวหลังปั่นจักรยาน ทั้งหมดนี้เกิดจากการบริหารจัดการเวลาบนจักรยานได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดอาการรวนไปทั้งระบบ ดังนั้น การบริหารจัดการระบบพลังงานบนจักรยานจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เริ่มจากต้องรู้ก่อนว่าคุณใช้พลังงานในการปั่นจักรยานกี่แคลเลอรี่ แล้วเตรียมพลังงานไว้ให้เพียงพอ
พลังงานดังกล่าว ก็คือ energy gel เจลพลังงานที่พกติดรถจักรยานเอาไว้ โดยต้องคำนวณปริมาณแคลเลอรีให้เพียงพอต่อพลังงานที่ร่างกายใช้ไป
สามารถเสริมได้ด้วยการพก aminoVITAL ติดไปด้วย เพื่อเพิ่มพลังงานและกรดอะมิโน BCAA เข้าสู่ร่างกาย เป็นการเติมสารอาหารให้กล้ามเนื้อ เพื่อพร้อมแก่การถูกใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณลงจากจักรยานมาวิ่งต่อ ก็เท่ากับว่าคุณมีน้ำมันอยู่แล้วเต็มถัง พร้อมที่จะไปต่อจนถึงเส้นชัย

 

การฝึกความแข็งแรงของร่างกาย (Strength Training) ให้สามารถปั่นจักรยานได้นิ่งขึ้น และปวดหลังล่างน้อยลง

นักปั่นหลายๆ คนอาจกำลังประสบปัญหาลำตัวไม่นิ่งและส่ายขณะปั่นจักรยาน หรือเวลาที่ก้มอยู่ในตำแหน่งลู่ลม (Aero Position) ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มักปวดหลังล่าง นั่นแปลว่า คุณต้องบริหารกลุ่มกล้ามเนื้อหลังเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความแข็งแรง และไม่ล้าง่ายจนเกินไป


วิธีฝึก สามารถใช้อุปกรณ์อย่างตุ้มน้ำหนักในการฝึกความแข็งแรงของร่างกายจุดต่างๆ (strength conditioning) ด้วยท่าเหวี่ยงตุ้มน้ำหนัก (Kettlebell Swing) จากนั้น ฝึกความแข็งแรงของแกนกลางลำตัว (Core stabilize) ด้วยท่าแบบนักไต่เขา (Mountain Climb) โดยเริ่มจากเหยียดตัวกับพื้นแบบท่าแพล็ง แล้วงอขาข้างหนึ่งเข้าหาตัวจำลองว่ากำลังไต่เขา งอขาสลับไปมาทั้งสองข้าง เท่านี้แกนกลางลำตัวก็จะค่อยๆ แข็งแรงขึ้น เมื่อฝึกเป็นประจำ